วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

สรรพคุณทางราก

ราก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และรักษาโรคเบาหวาน ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการทำศึกษาวิจัย โดยนำน้ำต้มรากเตยหอมไปทดลองในสัตว์ทดลองเพื่อดูฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ปรากฏว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ สามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มรับประทานเองได้ โดยนำใบเตยหอมมาล้างให้สะอาดแล้วหั่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้งนำไปชงกับน้ำร้อนดื่มได้ตลอดเวลา หรือจะนำใบเตยที่หั่นเรียบร้อยแล้วไปคั่วในกระทะโดยใช้ไฟอ่อน ๆ จนแห้งดีแล้วจึงเก็บในภาชนะที่ปิดให้สนิท เมื่อจะรับประทานก็นำมาชงกับน้ำร้อนดื่ม

สรรพคุณ ทางยาสมุนไพร


สรรพคุณ ทางยาสมุนไพร
แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ ดับพิษไข้ ชูกำลัง

ใบ
ใบเตยประกอบไปด้วยน้ำมันหอมระเหย และมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยประกอบไปด้วยสารหลายชนิด เช่น ไลนาลิลอะซีเตท (Linalyl acetate) เบนซิลอะซีเตท (Benzyl acetate) ไลนาโลออท (Linalool) และเจอรานิออล (Geraniol) และสารที่ทำให้มีกลิ่นหอมคือคูมาริน (Coumarin) และเอทิลวานิลลิน (Ethyl vanillin

ประโยชน์


ประโยชน์
ใช้ ผสมอาหาร ทำอาหาร ดับกลิ่น แก้โรคเบาหวาน ใช้บำรุงหัวใจ กลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ดื่มทำให้ชุ่มคอ ใบตำพอกโรคผิวหนัง ต้นและรากขับปัสสาวะ
เตยหอม

การขยายพันธุ์

การปลูกเตย หอม และ การขยายพันธุ์ขยายพันธุ์โดยการใช้หน่อที่เจริญเติบโตจากตัว แม่ เวลาปลูกควรรดน้ำทุกวัน เมื่อปลูกใหม่ ๆ ควรให้รับแสงรำไร
หรือโดย การปักชำลำต้น กิ่งแขนง ที่แยกมาจากต้นแม่โดยชำลงในดิน ที่ชุ่มน้ำ เช่น ริมคันสวน ถ้าชำในดินแห้งต้องรดน้ำให้ชุ่มชื้นตลอดเวลา

ต้นใบเตยหอม

ต้นเตยหอม





ชื่อพื้นเมือง
เตยหอม หวานข้าวไหม้ ปาแนะออจิง (Pandanus)

ลักษณะ
ต้นเตยหอม มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบแคบเรียว ใบมีสีเขียวสด เป็นพืชใบเรียงเดี่ยว ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ออกรากตามข้อของลำต้น

ลักษณะใบเตยธรรมดา

.......ส่วนเตยธรรมดา ต้องขยี้จึงจะได้กลิ่นหอม ยางแยะกว่าเตยหอม ผู้ที่แพ้ง่ายเมื่อโดนยางของเตยอาจจะรู้สึกคันยิบๆได้เหมือนกัน ขอบหรือใต้ใบไม่มีหนาม ใบสีเขียวเข้มและหนากว่าเตยหอม..
ปลูกง่ายทั้งสอง พันธุ์ ชอบทั้งน้ำและแดด ปลูกริมน้ำก็งามดี ดินโคลนก็ปลูกได้ ไม่ต้องการปุ๋ย เวลาจะปลูกใช้โคนต้นที่เป็นก้านแข็งๆนั่นจิ้มดินรดน้ำชุ่มๆก็เป็นแล้ว....เวลา ต้นโตได้ที่นิยมตัดยอดเลย แล้วก็รดน้ำเช่นเคยเค้าจะแตกสี่ทิศได้ยอดใหม่ 4 ยอดไปเลย

ลักษณะของใบเตยหอม

เตยหอมจะมีลักษณะเกือบจะเหมือนกันกับใบเตยธรรมดา แต่ต่างกันตรงที่ใบเตยหอม จะส่งกลิ่นหอมแม้ยังอยู่กับต้นยังไม่ถูกขยี้ใบ ..ที่บริเวณขอบใบหรือใต้ใบจะมีหนามเล็กๆ ไม่มาก แค่1-2 อันไม่สังเกตแทบมองไม่เห็นแต่ถ้ามือสัมผัสโดนบางครั้งก็เจ็บนะ เป็นหนามสีเดียวกับใบนั่นแหละไม่แข็งมากนักแข็งกว่าใบนิดหน่อย สีของใบจะไม่เขียวเข้ม และใบจะบางเป็นมัน .....